15 Free YouTube subscribers for your channel
Get Free YouTube Subscribers, Views and Likes

จิตไม่เกิด *ว่าง* ฝึกให้ถึง *จิตเดิมแท้จริง* แยกธาตุ แยกขันธ์ เสียงธรรม โดยหลวงพ่อเยื้อน ขนฺติพโล

Follow
Ami & Joe Happy TV

แบ่งปันบันทึกเสียง หลวงพ่อเยื้อน พระธรรมเทศนาจาก หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล
เนื่องในพิธีพระราชทานเพลิงศพพระครูเกษมวรกิจ (หลวงพ่อวิชัย เขมิโย ) ณ วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2567

ตามดูจิต
หลักของการดูจิต ไม่ใช่ดูๆ ไปเรื่อยๆ เหลวไหล
ส่วนมากดูจิตบางทีไปเพ่งจิตให้ว่างๆ ไม่มีปัญญาอะไรขึ้นมาหรอก
ดูก็ดูให้เห็นไตรลักษณ์ถึงจะใช้ได้
ดูจิตให้เกิดปัญญา

กฎ 3 ข้อของการดูจิต
กฎข้อแรกเลย ก็คือให้สภาวธรรมเกิดขึ้นแล้วค่อยรู้ ไม่ต้องเที่ยวหา หลวงปู่ดูลย์ท่านเคยสอนว่า “ใช้จิตแสวงหาจิต อีกกัปหนึ่งก็ไม่เจอ” ฉะนั้นไม่ต้องไปเที่ยวหา ให้ความรู้สึกมันเกิดแล้วค่อยรู้เอา

กฎของการดูจิตข้อที่สองก็คือ ระหว่างที่เห็นสภาวะ เราเห็นแบบคนวงนอก เราไม่จมลงไปในสิ่งที่จิตไปรู้ไปเห็นเข้า

กฎข้อที่สามก็คือ รู้สักว่ารู้ รู้แล้วไม่เข้าไปแทรกแซง ด้วยความยินดี ด้วยความยินร้ายทั้งหลาย ถ้าจิตมันเกิดยินดี จิตมันเกิดยินร้ายให้รู้ทัน รู้ทันความยินดียินร้าย ความยินดียินร้ายก็ดับ จิตก็เป็นกลาง รู้ด้วยความเป็นกลาง รู้แล้วก็ไม่เข้าไปแทรกแซง กฎของการดูจิตข้อสาม

กฎข้อที่สามเมื่อรู้แล้วอย่าเข้าไปแทรกแซง รู้แล้วจบลงที่รู้ไม่ต้องแทรกแซง แต่อย่างจิตมันมีความสุข เราไปรู้ว่าจิตมีความสุข จิตเกิดยินดีพอใจอยากรักษาความสุขอยู่นานๆ อันนี้เราพลาดจากการดูจิตแล้ว หลงไปตามความสุขแล้ว หรือจิตเกิดความทุกข์ อยากให้มันหายไปเร็วๆ นี่เราพลาดแล้ว

ข้อหนึ่ง ให้สภาวะเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยรู้ว่ามีสภาวะเกิด ข้อสอง ระหว่างดูสภาวะไม่ถลำลงไปดู ดูแบบคนวงนอก ข้อสาม เมื่อรู้สภาวะแล้วจิตหลงยินดีให้รู้ทัน จิตหลงยินร้ายให้รู้ทัน จิตก็เป็นกลาง ไม่ยินดี ไม่ยินร้ายกับสภาวะ สุขหรือทุกข์ก็เท่าเทียมกันด้วยความเป็นไตรลักษณ์ ดีหรือชั่วก็เท่าเทียมกันด้วยความเป็นไตรลักษณ์ เราจะเห็นถึงไตรลักษณ์

หลักของการดูจิต ไม่ใช่ดูๆ ไปเรื่อยๆ เหลวไหล ส่วนมากดูจิตบางทีไปเพ่งจิตให้ว่างๆ ไม่มีปัญญาอะไรขึ้นมาหรอก ดูก็ดูให้เห็นไตรลักษณ์ถึงจะใช้ได้ เวลาดูจิตๆ ไปถึงจุดหนึ่งจิตมันหมดกำลัง อย่างเราเห็นจิตสุข ทีแรกจิตยังมีกำลังของสมาธิอยู่ มันเห็นว่าความสุขเป็นสิ่งหนึ่ง จิตเป็นสิ่งหนึ่ง พอสมาธิเราเสื่อมจิตหมดแรง จิตมันจะไหลเข้าไปในความสุข จมลงไปในความสุข ยินดีพอใจอยู่ในความสุขแล้วไม่รู้ไม่เห็น แช่อยู่อย่างนั้น สมาธิไม่พอแล้ว จิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู ฉะนั้นถึงเราจะดูจิตทั้งๆ ที่ว่า จิตตานุปัสสนานี้เหมาะกับพวกทิฏฐิจริต เหมาะกับพวกเจ้าความคิดเจ้าความเห็น แต่ไม่ว่าจะดูกายหรือดูจิตก็ทิ้งสมาธิไม่ได้ เพียงแต่การดูกายนั้นเข้าฌานได้ก่อนถึงจะดี
ปัญญาโลกุตตระ

ปัญญาโลกุตตระที่จะเกิดขึ้นมาต่อไป เป็นความรู้ของพุทธศาสนา ซึ่งเป็นโลกุตตระ พ้นจากทุกข์ พ้นจากวัฏฏสงสาร อันนี้ท่านพูดถึงการอบรมจิตใจ (ภาวนา) ไม่ต้องอาศัยการฟัง ไม่ต้องอาศัยการคิด ถึงฟังมาแล้วก็ดี ถึงคิดมาแล้วก็ดี เมื่อภาวนาทิ้งมัน ทิ้งการฟังไว้ ทิ้งการคิดเสีย เก็บไว้ในตู้ แต่มาทำจิต (ภาวนา) อย่างที่พวกเรามาฝึกกันอยู่ทุกวันนี้ หรือเรียกว่าทำกรรมฐานที่โบราณาจารย์ทั้งหลายท่านแยกประเภทส่วนแห่งการกระทำ แยกข้อประพฤติปฏิบัติ เรียกว่า สมถกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน

สมถวิปัสสนา เป็นแนวทางที่ให้พวกเราทั้งหลายปฏิบัติให้เป็นโลกุตตรจิต ให้พ้นจากวัฏฏสงสาร เช่นว่า เรานั่ง ไม่ต้องฟังและไม่ต้องคิด ตัดการฟัง ตัดการคิดออก และยกส่วนใดส่วนหนึ่งขึ้นพิจารณา เช่น เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ หรือเรายกอานาปานสติ คือ หายใจเข้านึกว่า พุท หายใจออกนึกว่า โธ ในเวลาที่เราทำกรรมฐานอยู่นั้น ในเวลาที่เรากำหนดลมอยู่นั้น ท่านไม่ให้ส่งจิตไปทางอื่น ให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว ออกไปแล้วเข้ามาเข้ามาแล้วก็ออกไป ไม่ต้องอยากรู้อะไรมาก ไม่ต้องอยากเห็นอะไรต่อไป ให้จิตของเรารู้เฉพาะลมที่มันเข้าหรือมันออก เรียกว่าการกำหนดลม เป็นอานาปานสติ…

สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา
เบื้องแรก ก็รู้จากการได้ฟังที่เรียกว่า สุตมยปัญญา การได้ฟังการได้ยิน อันนี้ก็เป็นเหตุให้รู้ เป็นเหตุให้เกิดปัญญา เช่นว่า สมมติว่าวันนี้เราเพิ่งได้ยินว่าสีขาว แต่ก่อนนี้เราไม่เคยได้ยิน ทีนี้เมื่อเรารู้ว่า สีขาวมันเป็นเช่นนี้ เราก็คิดไปอีก สีอื่นจะไม่มีหรือ หรือสีขาวจะแปรเป็นสีอื่นจะได้หรือไม่ เป็นต้น นี่เรียกว่า… จินตามยปัญญา หรือว่าเราคิดไป ก็ไปคิดลองดูเอาสีดำมาปนในสีขาว มันก็เกิดเป็นสีอื่นขึ้นมาอีก เป็นสีเทาอย่างนี้เป็นต้น การที่เราจะได้รู้จักสีเทาต่อไปนั้น ก็เพราะว่าเราคิด ปัญญาเกิดจากการคิด การวิพากษ์วิจารณ์ เราเลยรู้สูงขึ้นไปกว่าสีขาว รู้สีเทาเพิ่มขึ้นไปอีก ปัญญาเกิดจากสิ่งทั้งสองนี้

นี้ เป็นปัญญาที่เป็นโลกียวิสัย ซึ่งชาวโลกพากันเรียนอยู่ทั้งเมืองไทย จะไปเรียนนอกมาก็ตาม มันก็คงอยู่ใน สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา เท่านี้ อันนี้เป็นโลกียวิสัย พ้นทุกข์ไม่ได้ พ้นทุกข์ได้ยาก หรือพ้นไม่ได้เลยทีเดียว เพราะเมื่อรู้สีขาว สีเทาแล้ว ก็ไปยึดมั่น (อุปาทาน) ในสีขาว สีเทาอันนั้น แล้วจะปล่อยวางไม่ได้
ที่มาเนื้อหาข้อความ เว็ปไซต์ธรรมะเพื่อความพ้นทุกข์ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 2 ตุลาคม 2564

posted by acentualfg